หน้าหลัก
บุคคลธรรมดา
นิติบุคคล
รวมกฎหมายภาษี
ข่าวกรมสรรพากร
English
ค้นหา...
A
A-
A+
เมนู
ปิด
กรมสรรพากร
คืนภาษีนักท่องเที่ยว
ภาษาไทย
FAQ
FAQ
VAT Refund for Tourists
English
VDO
Brochure
FAQ
对于游客
ภาษาไทย
ข่าวประชาสัมพันธ์
สำหรับนักท่องเที่ยว
สำหรับผู้ประกอบการ
VRT นำทางร้านค้า
FAQ
เกี่ยวกับองค์กร
ระบบงานสำหรับผู้ประกอบการ
รายชื่อผู้ประกอบการ (VRT)
Download
KIOSK
ร่วมงานกับเรา
FAQ
หากนักท่องเที่ยวนำสินค้าที่ซื้อไปนานแล้วมาขอคืนบริษัทฯ จะทราบได้อย่างไรว่านักท่องเที่ยวได้นำคำร้อง ภ.พ.10 ไปขอคืนที่ท่าอากาศยานแล้วหรือยัง
กรณีนักท่องเที่ยวได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วคำร้อง ภ.พ.10 และต้นฉบับใบกำกับภาษีเจ้าหน้าที่สรรพากรที่ท่าอากาศยานฯ จะเก็บไว้เป็นหลักฐาน
บริษัทฯ มีหลายสาขา อยู่ในพื้นที่สรรพากรฯ เดียวกัน จะใช้แบบ ภ.พ.10 ร่วมกันได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะฐานข้อมูลการจ่ายคำร้อง ภ.พ.10 จะระบุเป็นสาขา ของแต่ละบริษัทฯ
อยากให้ช่วยอธิบายวีธีคิด VAT ด้วยว่าทำไมต้องคูณด้วย 7 หารด้วย 107 เพราะอธิบายแล้วลูกค้าไม่เข้าใจ
ในการจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 ช่องมูลค่าสินค้าจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ไว้ด้วย ซึ่งในใบกำกับภาษีจะระบุว่า "รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว"(Vat Included) ต้องการทราบจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างเดียวว่ามีจำนวนเท่าใด จึงต้องคำนวนโดยนำมูลค่าสินค้าคูณด้วย 7 หารด้วย 107
จำเป็นต้องระบุเลขที่หนังสือเดินทางลงในใบกำกับภาษีหรือไม่
จำเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะใบกำกับภาษีเต็มรูป หรือใบกำกับภาษีอย่างย่อ ตามที่กฎหมายกำหนด
ต้องพิมพ์เลขที่หนังสือเดินทาง ลงในใบกำกับภาษีอย่างย่อหรือเปล่า
จะพิมพ์หรือเขียนก็ได้
นักท่องเที่ยวไม่มีหนังสือเดินทางและ ID CARD ควรจะทำอย่างไร
หากเป็นไปได้ให้นักท่องเที่ยวโทรสอบถามเลขที่หนังสือเดินทางกับทางโรงแรม
กรณีขอแจ้งเลิกเป็นผู้ประกอบการขายสินค้าในระบบ VRT สำนักงานใหญ่ต้องนำคำร้อง ภ.พ.10 ที่เหลืออยู่ที่บริษัทฯ คืนกรมสรรพากรได้อย่างไร
ส่งคืนที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่ที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ด้วยแบบ คท.8 โดยให้แนบสำเนาแบบ คท.9 ฉบับสุดท้าย, บัตร VRT CARD (ถ้ามี) แล้วปลดป้าย "VAT Refund for Tourists
อยากทราบว่าทำไมถึงขอคืนภาษีผ่านบัตรเครดิตประเภท AMEX ไม่ได้
บัตรเครดิต AMEX ไม่มีการตกลงร่วมกันกับกรมสรรพากร
นักท่องเที่ยวขอคืนภาษีไม่เกิน 30,000.-บาท ประสงค์ขอคืนเป็นดราฟต์/เครดิต จำเป็นต้องกรอกชื่อและที่อยู่หรือไม่
การกรอกข้อมูลในคำร้อง ภ.พ.10 ส่วนของนักท่องเที่ยวจำเป็นต้องกรอกชื่อ ที่อยู่ให้ครบถ้วนทุกฉบับ เพื่อใช้ในการส่งเอกสารการคืนภาษีให้นักท่องเที่ยว
นักท่องเที่ยวมักสอบถามว่า เขาซื้อเสื้อผ้าและใส่อยู่จะตรวจเช็คอย่างไร
ถ้านักท่องเที่ยวสามารถแสดงสินค้าและพิสูจน์ได้ว่าเสื้อที่ใส่เป็นสินค้ารายการเดียวกับที่ระบุในคำร้อง ภ.พ.10 และใบกำกับภาษี ซึ่งเป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศุลกากรในการตรวจ
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ทำงานในประเทศไทย เมื่อซื้อสินค้ากลับไปต่างประเทศ จะขอคืนภาษีได้หรือไม่
นักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีฯ ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนดตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว
Luxury Goods คืออะไร
Luxury Goods ตามหลักเกณฑ์การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว ได้แก่ อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือนหรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา หรือสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์แบบพกพา กระเป๋าถือ (ไม่รวมถึง กระเป๋าเดินทาง) เข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่ 40,000 บาทขึ้นไป หรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมกับการเดินทางที่มีมูลค่าการซื้อสินค้าต่อชิ้นตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป
หากซื้อ Luxury Goods มาจะสามารถขอคืนภาษีได้อย่างไร
นักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าประเภท Luxury Goods ต้องตรวจสินค้าที่สำนักงานศุลกากรและที่สำนักงานคืนภาษีฯ บริเวณด้านในหลังผ่านตม. อีกครั้ง ถึงจะสามารถขอคืนภาษีฯ ได้ ดังนั้นนักท่องเที่ยวจะต้องนำสินค้าประเภท Luxury Goods ติดตัวไปขึ้นเครื่องด้วยเพื่อจะได้แสดงสินค้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจอีกครั้ง ณ สำนักงานคืนภาษีฯ
นักท่องเที่ยวกรอกข้อมูลในคำร้อง ภ.พ.10 ส่วนของนักท่องเที่ยวไม่ครบถ้วน เช่น เลขที่หนังสือเดินทาง วัน เดือน ปี ที่เดินทางออกจากประเทศไทย เป็นต้น นักท่องเที่ยวสามารถกรอกข้อมูลเพิ่มเติมในแบบ ภ.พ.10 ภายหลังที่ได้รับมอบแบบ ภ.พ.10 จากสถานประกอบการแล้ว ไดัหรือไม่
การจัดทำคำร้อง ภ.พ.10 จำเป็นต้องกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและส่วนของนักท่องเที่ยว ณ สถานประกอบการเนื่องจากผู้ประกอบการต้องจัดเก็บคู่ฉบับไว้ประกอบการลงรายงานด้วย
ถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเสร็จ ได้มอบให้คนอื่นมาจัดทำคำร้องภ.พ.10 แทน รวมถึงเซ็นต์ชื่อเอกสารในคำร้อง ภ.พ.10 แทนด้วย ทำได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะชื่อผู้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องตรงกับชื่อผู้ซื้อ เลขที่หนังสือเดินทางในใบกำกับภาษี และการลงลายมือชื่อต้องถูกต้องตรงกับลายมือชื่อในหนังสือเดินทาง(ถ้ามี)
ถ้าเขียน ภ.พ.10 ผิดสามารถแก้ข้อความได้หรือไม่
สามารถขีดฆ่าข้อความที่ไม่ใช้หรือเขียนผิดบนคำร้อง ภ.พ.10 ได้ พร้อมเซ็นชี่อกำกับตรงที่มีการแก้ไขด้วย
หากนักท่องเที่ยวเดินทางตอนเช้าวันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 04.00 น. แต่เดินทางไปรอที่สนามบินตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน 2566 นักท่องเที่ยวสามารถนำสินค้าไปให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจและดำเนินการขอคืนภาษีในคืนวันที่ 3 เมษายน 2566 ได้หรือไม่
ไม่ได้ นักท่องเที่ยวต้องผ่านการตรวจสินค้าและประทับตราจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ วันที่เดินทางออกเท่านั้น ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวเดินทางวันที่ 4 เมษายน 2566 เวลา 04.00 น. นักท่องเที่ยวต้องตรวจสินค้าในวันที่ 4 เมษายน 2566 เท่านั้น
สินค้าทุกชิ้นที่นักท่องเที่ยวซื้อต้องแสดงให้สรรพากรดูหรือไม่นอกเหนือจากสินค้า 10 ประเภท (LUXURY GOODS)
กรณีซื้อสินค้าราคาแพง ที่กรมสรรพากรกำหนด 10 ชนิด ได้แก่ อัญมณีที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรือน หรือของรูปพรรณ ทองรูปพรรณ นาฬิกา แว่นตา ปากกา โทรศัพท์แบบพกพา กระเป๋า เข็มขัด ที่มีมูลค่าของสินค้าแต่ละชิ้นตั้งแต่ 40,000 บาท หรือสินค้าที่สามารถนำติดตัวไปพร้อมกับ การเดินทางที่มีมูลค่าของสินค้าต่อชิ้น ตั้งแต่ 100,000 บาท ต้องนำผ่านสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เข้าไปให้เจ้าพนักงานสรรพากรตรวจและ ประทับตราลงนามกำกับอีกครั้งด้วย
ปรับปรุงล่าสุด: 09-08-2024